วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประวัติรัฐธรรมนูญ


ประวัติรัฐธรรมนูญ
ฉบับที่ 1  พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
มีจำนวน 39 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน
ที่มา : คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
มีจำนวน 68 มาตรา
ระยะเวลาที่บังคับใช้ 13 ปี 4 เดือน 29 วัน
ที่มา : ของรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนตั้งคณะกรรมการยกร่าง จำนวน 9 คน
 แล้วให้ สภาอนุมัติ

ฉบับที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
มีจำนวน 96 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  1 ปี 5 เดือน 30 วัน
ที่มา : ส.ส.ประเภทที่ 2 เสนอร่างแล้วให้สภาอนุมัติ ( ยุคนี้ ส.ส. มี 2 ประเภท )

ฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว ) พุทธศักราช 2490 (ฉบับใต้ตุ่ม )
มีจำนวน 98 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน
ที่มา : คณะรัฐประหาร นำโดย จอมพล ผิน ชุณหวัณ ( บิดา พล.อ ชาติชาย ชุณหวัณ )
มี หลวง กาจ เก่งระดมยิง เป็นผู้ร่าง แล้วนำไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำ จึงเป็นที่มา ฉบับใต้ตุ่ม

ฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
มีจำนวน 188 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  2 ปี 8 เดือน 6 วัน
ที่มา :  สภาร่างรัฐธรรมนูญ 40 คนยกร่างจัดทำแล้วให้สภาอนุมัติ (สสร.1 )

ฉบับที่ 6 รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475
แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
มีจำนวน  123 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน
ที่มา :  จอมพล ป. นายกฯ เสนอร่าง ให้สภาอนุมัติ

ฉบับที่ 7ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
มีจำนวน 20 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 9 ปี 4 เดือน 23 วัน
ที่มา : คณะปฏิวัติ นำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
มีจำนวน 183 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 3 ปี 4 เดือน 28 วัน
ที่มา :  สภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 240 คน ยกร่าง และอนุมัติ ( สสร. 2 )

ฉบับที่ 9:ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
มีจำนวน 23 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  1 ปี 9 เดือน 22 วัน
ที่มา : คณะปฏิวัติ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร

ฉบับที่ 10 :  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
มีจำนวน 238 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  2 ปี
ที่มา :  คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 24 คน
( จากสมัชาแห่งชาติ ) ยกร่างแล้วเสนอคณะรัฐมนตรี และสภา

ฉบับที่ 11 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
มีจำนวน  29 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 11 เดือน 28 วัน
ที่มา : คณะปฏิวัติ นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ประกาศใช้

ฉบับที่ 12 :  ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
มีจำนวน  32 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 1 ปี 1 เดือน 13 วัน
ที่มา : คณะปฏิวัติ นำโดย พล.ร.อ สงัด ชลออยู่ ทำรัฐประหารซ้ำอีกรอบ

ฉบับที่ 13 :รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
มีจำนวน 206 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 12 ปี 2 เดือน 1วัน
ที่มา : สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช.) ตั้งคณะกรรมการยกร่าง และอนุมัติ

ฉบับที่ 14 : ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
มีจำนวน  33  มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  8 เดือน 8 วัน
ที่มา : คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ( รสช.) นำโดย พล.อ สุนทร คงสมพงษ์

ฉบับที่ 15 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
มีจำนวน  223 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  5 ปี 10 เดือน 2 วัน
ที่มา : สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช. ที่ตั้งโดย รสช.)

ฉบับที่ 16 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
มีจำนวน 336 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้  8 ปี 10 เดือน 9 วัน
ที่มา :  รัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 15 โดยแก้ไข มาตรา 211
ให้มี สสร.จำนวน 99 คน ยกร่างและให้สภาอนุมัติ ในสมัย นายบรรหาร ศิลปอาชา
เป็นนายกฯ (สสร.3 )

ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ( ชั่วคราว )พุทธศักราช 2549
มีจำนวน 39 มาตรา
ระยะเวลาบังคับใช้ 11 เดือน 5 วัน ( บังคับใช้เมื่อ 19 ก.ย 2549 - 24 ส.ค.2550 )
ที่มา :  คณะปฏิรูปการปกครอง ฯ ( คมช.)


ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
มีจำนวน 309 มาตรา
บังคับใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2550 ถึง ปัจจุบัน.......
ที่มา สสร.จากการแต่งตั้งของ คมช. จำนวน 100 คน ยกร่าง  และให้สภาอนุมัติ
และให้ประชาชน ลงประชามติ (สสร.4 )

ฉบับที่ 19 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
เริ่มใช้วันที่22กรกฎาคม 2557ผู้นำทูลเกล้า คือ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา




กลอนเกี่ยวกับวันพ่อแห่งชาติ


รักของพ่อที่ให้ลูกพันผูกจิต
เกินจะคิดคำเพราะที่เหมาะสม
พระคุณพ่อทั้งโลกากล่าวชื่นชม
น้อมประนมบูชาค่าสักการ

สองมือลูกกราบลงตรงเท้าพ่อ
ลูกจะขอตั้งจิตอธิษฐาน
ทวยเทพไทไตรรัตน์ช่วยบันดาล
ให้สำราญกายใจไร้โรคา ฯ




วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประวัติธงชาติไทย

http://youtu.be/KmPZ61uEsXU

เหตุการณ์ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

เหตุการณ์ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557



รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16:30 น. โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมีประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ โค่นรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นับเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย ก่อนหน้านี้ เกิดรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 รัฐประหารดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และความเชื่อว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตรมีอิทธิพลในการเมืองไทย
ในวันที่ 20 พฤษภาคม ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่เวลา 3.00 น. กองทัพบกตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) และให้ยกเลิกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ศอ.รส.) กอ.รส. ปิดสื่อ ตรวจพิจารณาเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต และจัดประชุมเพื่อหาทางออกวิกฤตการณ์การเมืองของประเทศ แต่การประชุมไม่เป็นผล จึงเป็นข้ออ้างรัฐประหารครั้งนี้
หลังรัฐประหาร มีประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลงยกเว้นหมวด 2 คณะรัฐมนตรีรักษาการหมดอำนาจ ตลอดจนให้ยุบวุฒิสภา ปัจจุบัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ และประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรี คสช. มีการจัดส่วนงานต่าง ๆ เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน และระบุว่าจะปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ไม่มีคำมั่นว่าประเทศจะหวนกลับสู่การปกครองโดยพลเรือนโดยเร็ว
หลายประเทศประณามรัฐประหารครั้งนี้ รวมทั้งมีการกดดันต่าง ๆ เช่น ลดกิจกรรมทางทหารและลดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่คนไทยจำนวนหนึ่งแสดงความยินดี โดยมองว่าเป็นทางออกของวิกฤตการณ์การเมือง แต่ก็มีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย
เหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 น. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย  
โดยก่อนเกิดรัฐประหารสองวัน พลเอก ประยุทธ์ ประกาศกฎอัยการศึก ตั้งแต่เวลา 03:00 นาฬิกา ด้วยการอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ต่อมากองทัพบกได้ออกประกาศยุติการดำเนินการของศูนย์อำนายการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และจัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ขึ้นแทนโดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) 
สรุปเหตุการณ์ระทึก 20-22 พ.ค.  รัฐประหาร พ.ศ. 2557 
20 พ.ค.  
03:00 น. - กองกำลังทหารพร้อมอาวุธครบมือ เข้าควบคุมช่องโทรทัศน์ทั้งภาคพื้นดินและผ่านดาวเทียมหลายช่อง โดยร้องขอให้เชื่อมสัญญาณออกอากาศ จากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
04:00 น. - สื่อสังคมออนไลน์ เริ่มมีการเผยแพร่คำสั่ง ประกาศกฎอัยการศึก และประกาศจัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.)
06:30 น. - ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะ ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ออกประกาศใช้กฎอัยการศึก ทั่วราชอาณาจักร ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
08:25 น. - คำสั่งฉบับที่ 1 กอ.รส. เรื่องการถ่ายทอดการออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ และ สถานีวิทยุชุมชน ให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รับสัญญาณถ่ายทอด แถลงการณ์จากกองทัพบก ทุกครั้งที่ได้รับการประสาน
08:40 น. - คำสั่งฉบับที่ 2 กอ.รส. ให้ผู้ชุมนุมทางการเมืองอยู่ในพื้นที่เดิม โดย กปปส. ให้อยู่ที่ถนนราชดำเนิน เขตพระนคร และถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงหน้าศูนย์ราชการฯ เขตหลักสี่ ส่วน นปช. ให้อยู่ที่ถนนอักษะ เขตทวีวัฒนา
09:50 น. - คำสั่งฉบับที่ 3 กอ.รส. ห้ามสื่อข่าวที่กระทบต่อการรักษาความสงบ
10:35 น. - คำสั่งฉบับที่ 4 กอ.รส. ขอเรียนเชิญบุคคลสำคัญเข้าร่วมประชุม เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยเป็นไปด้วยความสงบสันติ ปราศจากการสุญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินประชาชน กอ.รส.จึงขอเรียนเชิญบุคคลสำคัญเข้าร่วมประชุม
11:05 น. - คำสั่งฉบับที่ 5 กอ.รส. แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา กอ.รส.
12:35 น. - คำสั่งฉบับที่ 6 กอ.รส. สั่งให้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ระงับการออกอากาศจำนวน 10 ช่อง รวมถึงวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาต 1.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอ็มวี 5 2.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ดีเอ็นเอ็น 3.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมยูดีดี 4.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเชียอัพเดท 5.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม พีแอนด์พี 6.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมโฟว์ชาแนล 7.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมบลูสกาย8.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอฟเอ็มทีวี9.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์ 10.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เอเอสทีวี 11.สถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งกฎหมายตามกำหนดตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
14:00 น. - เริ่มประชุมตามคำสั่งฉบับที่ 4 ที่สโมสรทหารบก สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปฏิเสธไม่เข้าร่วมประชุม
19:34 น. - คำสั่งฉบับที่ 8 กอ.รส. ขอความร่วมมือสื่อสังคมออนไลน์ ระงับส่งข้อความปลุกระดม สร้างความรุนแรง ไม่เคารพกฎหมาย
19:45 น. - คำสั่งฉบับที่ 7 กอ.รส. สั่งให้โทรทัศน์ดาวเทียม ระงับการออกอากาศเพิ่มเติมอีก 4 ช่อง
20:09 น. - คำสั่งฉบับที่ 9 กอ.รส. สั่งห้ามสื่อทุกแขนง เชิญผู้ไม่มีตำแหน่งราชการ แสดงความเห็นก่อความขัดแย้ง พร้อมสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัด เข้าระงับการชุมนุมต่อต้าน การปฏิบัติงานของ กอ.รส.
20:49 น. - คำสั่งฉบับที่ 10 สั่งห้ามข้าราชการ เจ้าหน้าที่พลเรือน ประชาชน พกพา ใช้อาวุธสงครามและวัตถุระเบิด เว้นทหารตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยตามคำสั่ง

วันที่ 21 พฤษภาคม 2557
ในช่วงบ่ายมีประกาศ กอ.รส. ฉบับที่ 7/2557 เรียกตัวแทนจาก 7 ฝ่ายเข้าร่วมประชุมที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดี รังสิต 
ผู้แทนรัฐบาล ประกอบด้วย
รักษาการณ์นายกรัฐมนตรี และผู้ติดตาม 4 ท่าน 
ผู้แทนวุฒิสภา ประกอบด้วย รองประธานวุฒิสภาท่านที่ 1 พร้อมคณะอีก 4 ท่าน
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ทั้ง 5 ท่าน
ผู้แทนพรรคเพื่อไทย ประกอบด้วย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรค และผู้ติดตาม 4 ท่าน
ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และผู้ติดตาม 4 ท่าน
ผู้แทนคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. พร้อมคณะอีก 4 ท่าน
ผู้แทนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. และคณะอีก 4 ท่าน
2.ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพรบ.กฏอัยการศึก พศ2457 เข้าปฏิบัติพื้นที่ ในเขตพื้นที่ และระยะเวลาที่กำหนดได้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
2.ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์กระจายเสียงทุกสถานีทั้งทีเป็นของทางราชการและเอกชน งดรายการประจำของสถานี และให้ถ่ายทอดออกรายการจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
3.ให้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม และเคเบิ้ลทุกสถานีงดรายการประจำของสถานี และให้ถ่ายทอดออกรายการจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557
2. ครม.รักษาการสิ้นสุดลง
3. ส.ว. ยังปฏิบัติหน้าที่ต่อ
4. ศาลยังมีอำนาจพิจารณาคดี
5. องค์กรอิสระและ องค์กรอื่นตาม รธน.ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
พลเอกอุดมเดช สีตบุตร เป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
19.25 น. - คำสั่ง คสช.1/57 ให้บุคคลมารายงานตัว 18 คน ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม
พงษ์เทพ เทพกาญจนา
จาตุรนต์ ฉายแสง
วิเชษฐ์ เกษมทองศรี 
พงศ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
เบญจา หลุยเจริญ
สมศักดิ์ ภูรีศรีศักดิ์
ปวีณา หงสกุล
พล.อ.พฤณฑ์ สุวรรณทัต
พ้อง ชีวานันท์
ยรรยงค์ พวงราช
วิศาร เตชะธีรวัฒน์
สนธยา คุณปลื้ม
ประดิษฐ์ สินธวณรงค์
สวรงษ์ เทียนทอง
ประเสริฐ บุญชัยสุข
20.30 น. - ดวง อยู่บำรุง เผย เฉลิม อยู่บำรุง ถูกทหารควบคุมตัวมาที่ ร.1 รอ.แล้ว @thapanee3miti
1.00 น. - ประกาศฉบับที่ 15 ระงับการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิลทีวี ทีวีดิจิทัล วิทยุชุมชนออกอากาศ 25 สถานีป้องกันสร้างความขัดแย้ง
1.10 น. -คำสั่งฉบับที่ 2 เรียกรายงานตัวเพิ่มเติม โดยให้มารายงานตัวในเวลา 10.00น .วันที่ 23 พฤษภาคม 2557
1.35 น. - ประกาศฉบับที่ 16 ให้ปลัดกระทรวงปฎิบัติราชการแทนรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
09.00 น. นายยรรยง พวงราช อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เดินมารายงานตัวเป็นคนแรกตามด้วย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
09.38 น. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประชา ประสพดี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มารายงานตัว
11.20 น. ประกาศฉบับที่ 20 เชิญคณะทูตานุทูต ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารทุกเหล่าทัพ เข้าฟังคำชี้แจง ในวันที่ 23 พ.ค.เวลา 16.00 น. ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต
 

โดยประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียดตั้งแต่เวลา 13.30 น. จน พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจให้มาประชุมกันใหม่ในวันพรุ่งนี้เวลา 14.00 น.เพื่อหาทางออกของประเทศร่วมกัน ภายหลังรัฐมนตรีรักษาการได้ออกมาเผยว่าท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ในที่ประชุมดูแปลกไป แต่ตนเชื่อว่าพล.อ.ประยุทธคงไม่คิดจะทำการรัฐประหารแน่นอน
วันที่ 22 พฤษภาคม 2557
14:00 น. - ประชุมร่วม 7 ฝ่าย ครั้งที่ 2 โดยมี ผบ.ทบ. เป็นประธานในที่ประชุมระหว่างการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางที่เห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ โดยได้สอบถาม นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายรัฐบาล ว่าตกลงรัฐบาลยืนยันไม่ลาออกทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช้หรือไม่ ซึ่งนายชัยเกษมระบุว่านาทีนี้ไม่ลาออกและต้องการดำเนินการต่อจนกว่าจะครบวาระตามกฎหมาย พล.อ.ประยุทธ์ จึงตอบกลับว่าจะยึดอำนาจการปกครอง และเมื่อสิ้นสุดเสียง เจ้าหน้าที่ทหารกว่าหลายร้อยนายได้เข้ามาชาร์จผู้ประชุมทั้ง 7 ฝ่ายและพาขึ้นรถออกไปทันที โดยไม่ทราบจุดหมายปลายทาง
16:30 น. - พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศตั้ง "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" (อังกฤษ: National Peace and Order Maintaining Council อักษรย่อ: คสช.) เข้ามายึดอำนาจรัฐบาลรักษาการณ์ในทันที รวมถึงให้กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) สิ้นสุดอำนาจทันทีเช่นกัน แต่ทั้งนี้คำสั่งต่างๆ ยังคงมีผลต่อเนื่องอยู่
18:00 น. - คณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรอีกครั้ง
18.15น. - ประกาศฉบับที่ 3
1.ห้ามออกนอกเคหะสถาน 22.00-05.00 ตั้งแต่ 22พค.57 เป็นต้นไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
18.30 น. - ประกาศ ฉบับที่ 4 การถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์กระจายเสียง และ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิ้ล
ประกาศมีเนื้อหาดังนี้
เพื่อความถูกต้อง สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อง ทันต่อสถานการณ์ อาศัยอำนาจตามความม. 10 และ ม.11 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 จึงให้สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์กระจายเสียง สถานนีโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิ้ล ดำเนินการดังนี้
1.ให้สถานีวิทยุกระจายเสียงทุกสถานีทั้งที่เป็นของราชการและเอกชนงดรายการประจำสถานี และให้ถ่ายทอดกระจายเสียงจากสถานีวิทยุกระจายเสียงของกองทัพบก
19.10 น. - ประกาศ ฉบับที่ 5
1. รธน. พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลงชั่วคราว ยกเว้น หมวด 2 เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ 
19.16 น. - ประกาศ ฉบับที่ 6 แต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
19.36 น. - ประกาศฉบับที่ 7 ห้ามชุมนุมทางการเมือง ห้ามชุมนุมทางการเมือง 5 คนขึ้นไป เพื่อให้สถานการณ์กลับสู่ปกติโดยเร็ว โทษคุก 1 ปี ปรับ 20,000
20.55 น. - ประกาศฉบับที่ 8 ข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถาน คนเดินทางเข้าออกประเทศ , คนเข้ากะเข้าผลัดโรงงานอุตสาหกรรม , การขนส่งสินค้ากิจการห้องเย็น/สินค้ามีอายุจำกัด ผู้ป่วย
21.00 น. - ประกาศฉบับที่9 ให้สถานศึกษาทุกแห่งหยุดทำการ ตั้งแต่วันที่ 23-25 พ.ค. 2557
23.45 น. - พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก แจ้ง พื้นที่การชุมนุมของกปปส. ผู้ชุมนุมทยอยกลับแล้ว มีบางส่วนที่ขอพำนักจนถึงเช้า เพื่อรอญาติมารับ พื้นที่ถนนอักษะ มีรถให้บริการ 30 คัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ประชาชนได้ทยอยกลับบ้าน ซึ่งขณะนี้ประชาชนเดินทางกลับหมดแล้ว หลังจากนี้จะจัดระเบียบและคืนพื้นผิวจราจร
23.50 น. - ประกาศฉบับที่ 10 ในระหว่างไม่มีผู้ใดดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ให้อำนาจหน้าที่นายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
23.55 น. - ประกาศฉบับที่ 11 การสิ้นสุดรธน. 50 สิ้นสุดลง เว้นหมวดกษัตริย์คงไว้ ครม.รักษาการสิ้นสุด / ส.ว. /ศาล/องค์กรอิสระตาม รธน.คงไว้
23.58 น. - ประกาศฉบับที่ 12 ขอความร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์ ขอความร่วมมือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ระงับการให้บริการส่งข้อความยั่วยุ เชิงปลุกระดม ต่อต้านการปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หากฝ่าฝืนจะระงับการบริการและเรียกมาดำเนินคดี

วันที่ 23 พฤษภาคม 2557
0.50 น. -ประกาศฉบับที่ 13 ขอให้บุคคลสำคัญมารายงานตัว ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 เวลา 13.00 น . ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยให้มารายงานตัวตามสถานที่ที่กำหนดไว้
0.57 น.- ประกาศฉบับที่ 14 ห้ามเจ้าของกิจการสื่อ เชิญบุคคลหรือกลุ่มบุคลที่มิได้ดำรงตำแหน่งในปัจจุบันให้สัมภาษณ์ หรือแสดงความคิดเห็น อันก่อให้เกิดความขัดแย้ง หากฝ่าฝืนจะถูกเรียกตัวมาดำเนินคดี / ให้ผู้ว่าราชการ ตำรวจ ระงับการชุมนุมที่ต่อต้านการทำงานของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
1.39 น. - ประกาศฉบับที่ 17 เรื่องเผยแพร่ข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการตรวจสอบเข้มงวด และมารายงานตัวที่ กสทช. พรุ่งนี้ 10.30 น.
1.39 น. - ประกาศฉบับที่ 18 สื่อมวลชนทุกประเภท งดเว้นการนำเสนอข้อความอันเป็นเท็จ
2.00 น.  - ประกาศฉบับที่ 19 ให้หัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ระดับอธิบดีขึ้นไป หรือเทียบเท่า มารายงานตัวที่สโมสรทบ. เวลา 13.30 น. (23 พ.ค.)
08.56 น. คำสั่งฉบับที่ 3 เรียกบุคคลรายงานตัวเพิ่มเติม 114 คน ปรากฎชื่อนายทหารตำรวจ อดีตรมต. แกนนำ คปท. ,นปช. และ กปปส. ที่หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์
9.45 น.  น.ส.อัญชลี ไพรีรักษ์ หนึ่งในแกนนำกปปส. ก็ได้เดินทางมารายงานเช่นเดียวกัน ด้านกำลังรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยใช้เจ้าหน้าที่ทหารจากกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ หน่วยเคลื่อนที่เร็วจากกรมทหารเรียบที่ 31 รักษาพระองค์ (อาร์ดีเอฟ) สนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจากหน่วยคอมมานโดประจำจุดตรวจรอบกองทัพบกเทเวศน์
12.00 น . .ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางด้วยรถตู้โฟล์คสีดำ หมายเลขทะเบียน นบ 1 กทม. เข้ารายงานตัวกับ คสช. ที่หอประชุมกองทัพบก เทเวศน์
12.16 น. ประกาศฉบับที่ 21 ห้าม 155 คนที่ถูกหมายเรียกเดินทางออกนอกประเทศ และหากไม่มาตามหมายเรียก จะถูกติดตามจับกุม